วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

กล้องโพลารอยด์ (Polaroid Camera)

http://www.iambo.com/blog/archives/2008/08/polaroid-of-the-week-08-18-08.html
  • เป็นกล้องถ่ายรูปที่เมื่อถ่ายเสร็จจะได้ภาพทันที  เพราะมีกระบวนการล้างอัดอยู่ในตัวฟิล์ม  ภายในเวลาเพียง2-3 นาทีเท่านั้น  ภาพที่จะเป็นภาพโฟสิทีฟ(Positive)กล้องชนิดนี้เหมาะในการใช้งานที่ต้องการความรวดเร็ว  ข้อเสียก็คือฟิล์มที่ใช้กับกล้องชนิดนี้มีราคาค่อนข้างสูง  และภาพที่ได้ไม่มีความคงทนเก็บไว้ได้ไม่นานหากดูแลรักษาไม่ดี.




http://www.travel-is.com/forum/view.php?qID=568
เกิดขึ้นตั้งแต่ปีค.ศ.1947
เมื่อ ดร.เอดวิน แลนด์
(Dr. Edwin Land) ชาวอเมริกันได้พัฒนาและปรับปรุงการก๊อบปี้เอกสารมาใช้ในการถ่ายภาพเป็นครั้งแรกด้วยการใช้ฟิล์มม้วนที่แนบกับกระดาษชุบน้ำยาเคมีสร้างภาพ กล้องจะขับฟิล์มที่ถ่ายภาพแล้วออกมาในเวลา1นาทีแล้วผู้ใช้จะรอให้ภาพปรากฏในเวลาประมาณ1นาที จึงลอกกระดาษชั้นที่เป็นเนกาทีฟออกมาแผ่นที่เหลือเป็นภาพโพสิทีฟที่ต้องการซึ่งภาพในระยะแรกๆจะมีสีน้ำตาลหรือขาว-ดำแต่ภายหลังในปี ค.ศ.1951ก็สามารถผลิตเป็นภาพสีซึ่งมีสีอื่นๆอยู่ด้วยทว่าสีสันยังไม่ตรงกับสีตามธรรมชาตินัก(เพี้ยนไปทางสีน้ำตาล)ในปีค.ศ.1963   
บริษัท"โพลารอยด์”เมืองเคมบริดจ์รัฐแมสาชูเซตส์แห่งสหรัฐอเมริกา ก็เริ่มผลิตฟิล์มสีสำเร็จรูปออกจำหน่ายเป็นครั้งแรกแต่ก็ยังเป็นแบบลอกภาพในแบบเดิมเพิ่งจะปรับปรุงโดยใช้เป็นกระดาษแผ่นเดียว และทำให้เกิดภาพที่มีสีสันตามธรรมชาติในปี
ค.ศ.1972และต่อมาบริษัทโกดักก็ได้ผลิตฟิล์มชนิดนี้ออกมาในปีค.ศ.1976และผลิตกล้องถ่ายภาพที่ใช้กับฟิล์มสำเร็จรูปออกมาอีกหลายรุ่นภายหลังจากที่โพลารอยด์ได้ผลิตกล้อง“โพลารอยด์"  รุ่น95ออกมาเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1948จนเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในหมู่คนไทยในนามของกล้องและฟิล์ม“โพลารอยด์”หลังจากที่มีการผลิตฟิล์มโพลารอยด์ออกจำหน่ายไม่นานก็มีผู้คิดแม็กกาซีนเพื่อใช้กับกล้องถ่ายภาพชนิดเลนส์เดี่ยวกันมากขึ้นโดยทำให้ฝาหลังกล้องสามารถถอดเปลี่ยนใช้กับแม็กกาซีนดังกล่าวได้ แต่โดยมากมักใช้กันในหมู่ช่างภาพมืออาชีพเพื่อตรวจสอบการจัดภาพ การให้แสงก่อนการถ่ายด้วยฟิล์มที่ใช้งานจริงซึ่งนับว่าให้ประโยชน์คุ้มค่ามากเนื่องจากสามารถเห็นภาพได้หลังจากถ่ายเสร็จเพียงไม่กี่วินาทีแทนที่จะต้องรอผลจากฟิล์มแบบอื่นๆที่ต้องใช้เวลามากกว่าปัจจุบันยังมีโพลารอยด์เป็นฟิล์มสไลด์ด้วย
ดังนั้นในอนาคตถ้าหากมีการปรับปรุงคุณภาพต่างๆ เช่น ความคงทน ความคมชัด เกรน ฯลฯ ให้ดีทัดเทียมกับฟิล์มชนิดอื่นๆ แล้วกระบวนการล้าง อัด ขยาย ก็จะกลายเป็นวิธีการที่ล้าสมัยไป
http://www.youtube.com/watch?v=jOT7SwSgq2U


--------------------------------------------------------------------------------


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น