วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

การดูแลรักษากล้องและฟิล์ม

  • การดูแลรักษากล้อง
http://differentviewfinders.tumblr.com/post/131916797/polaroid-one-step-part-1
อย่าให้กล้องถ่ายภาพได้รับการกระทบกระเทือน ถ้าถูกกระแทกแรงๆ อาจทำให้เลนส์
ชัตเตอร์ หรือกลไกส่วนอื่นๆ เคลื่อนได้ควรป้องกันด้วยการใส่กระเป๋าที่มีฟองน้ำหุ้ม
ถ้ายังไม่ใช้กล้องถ่ายภาพเป็นเวลานานอย่าขึ้นชัตเตอร์ค้างไว้

การถ่ายภาพโดยเฉพาะภาพสุดท้ายของฟิล์ม ถ้าฟิล์มหมดอย่าพยายามฝืนจะทำให้ชัตเตอร์ค้างได้
อย่าเก็บกล้องถ่ายภาพไว้ในที่ๆ มีอากาศร้อนหรือชื้น เพราะความร้อนจะทำให้น้ำมันหล่อลื่นในกล้อง ละลายและแห้ง หากมีฟิล์มอยู่ในกล้องจะทำให้ฟิล์มเสื่อมคุณภาพ และความชื้นอาจทำให้เลนส์ขึ้นรา ควรมีถุงยางกันชื้นใส่ไว้ในกระเป๋ากล้องตลอดเวลา
การถ่ายภาพที่ชายทะเล ให้ระมัดระวังทรายเข้าในกล้อง ขณะใส่หรือถอดฟิล์ม เพราะถ้าทรายเข้าในกล้องได้แล้วจะขีดข่วนฟิล์มเป็นรอยและพยายามอย่าให้กล้องถ่ายภาพถูกน้ำ หรือไอน้ำโดยเฉพาะน้ำเค็ม เป็นอันตรายต่อกล้องถ่ายภาพมาก ส่วนที่เป็นโลหะอาจเป็นสนิมได้
ระวังอย่าให้มือที่มีเหงื่อถูกหน้าเลนส์หรือช่องเล็งภาพ ถ้าเลนส์สกปรกให้ใช้กระดาษเช็ดเลนส์ทำความสะอาดที่เลนส์โดยเฉพาะ หรือใช้ลูกยางแปรงเป่าเลนส์ บีบไล่ฝุ่นออกให้หมดอย่าใช้ผ้าหยาบๆ เช็ดเลนส์ เพราะจะทำให้เลนส์เป็นรอยขีดข่วนได้









-การเก็บรักษาฟิล์มและภาพถ่าย

ฟิล์มและภาพถ่ายนั้น ถ้าเป็นไปได้ควรจะเก็บไว้ในที่ซึ่งมีความชื้นน้อย (ความชื้นสัมพัทธ์น้อยกว่า 40 %) มีอุณหภูมิที่พอเหมาะ (ประมาณ 10 - 25 (C) และมีแสงน้อย และควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการเก็บภาพที่ได้มาตรฐานซึ่งผลิตมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ เช่น แฟ้มใส่ฟิล์มอัลบั้มใส่รูป เป็นต้น โดยมีข้อที่ควรพิจารณาดังนี้

กรด กรดที่มีอยู่ในกระดาษ ,พลาสติก ,หมึก หรือกาวจะทำให้ภาพปริ้นหรือฟิล์มมีสีซีดเหลืองได้ นอกจากนี้กรดยังสามารถระเหยไปทำอันตรายภาพหรือฟิล์มอื่นๆได้ด้วย ดังนั้นควรตรวจสอบก่อนว่าผลิตภัณฑ์ที่คุณจะใช้นั้น มีความเป็นกรดอยู่หรือไม่ โดยใช้ปากกาทดสอบความเป็นกรดของ Light Impressions

PVC และPVA พลาสติกที่ทำจากสารเหล่านี้จะทำให้ภาพหรือฟิล์มซีดเหลืองได้ เนื่องจากมันมีส่วนประกอบของก๊าซ Chlorine Halogen ซึ่งเป็นก๊าซกัดกร่อน พลาสติกที่ปลอดภัยคือพลาสติกที่ทำจาก Polyethylene , Polyester , Polypropylene , Mylar D และTri-Acetate

อัลบั้มแบบแม่เหล็ก(Magnetic Album) เป็นแบบที่นิยมแพร่หลายในปัจจุบันมาก(ในเมืองไทยก็เช่นกัน) เป็นอัลบั้มที่ใช้แว๊กเคลือบไว้บนกระดาษ ซึ่งจะทำให้ภาพปริ้นติดอยู่บนกระดาษได้แล้วมีแผ่นพลาสติกคุมป้องกันไว้อีกชั้นหนึ่ง ในขณะที่พลาสติกอาจจะปลอดภัยสำหรับภาพแต่แว๊กนั้นจะทำให้ภาพซีดเหลืองได้ ดังนั้นจึงไม่ควรใช้อัลบั้มแบบนี้อย่างยิ่ง

การแสกนแล้วเก็บข้อมูลเป็นไฟล์ดิจิตอลก็เป็นอีกหนึ่งวิธีในการเก็บข้อมูล ทำให้ภาพของเราอยู่กับเราไปได้ตลอด


























    ---------------------------------------------------------------------------------

    http://courseware.payap.ac.th/docu/ca205/takecamera.html

    โพลารอยด์กับยุคปัจจุบัน

    • โพลารอยด์กับยุคสมัยใหม่
    โพลารอยด์ ไม่สมบูรณ์แบบแต่มีมนตร์ขลัง
    ยุคทองของกล้องฟิล์ม รวมทั้งกล้องโพลารอยด์สิ้นสุดลงเมื่อหลายปีที่แล้ว หลังจากที่เข้าสู่ยุคเฟื่องฟูกล้องดิจิตอลแทนในทุกๆ รูปแบบที่กล้องฟิล์มเคยมี อย่างไรก็ตาม คนที่ยังนิยมใช้กล้องฟิล์มด้วยรักเสน่ห์ความคลาสสิกก็ยังคงมีอยู่ ขณะที่กล้องฟิล์มโพลารอยด์กำลังจะถึงกาลอวสานในไม่ช้า โดยเฉพาะเมื่อบริษัทผู้ผลิตออกมาประกาศว่าจะหยุดผลิตกล้องโมเดล 95 ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ นั่นจะเป็นการปิดฉากของกล้องอายุ 6 ทศวรรษลงอย่างแท้จริง หลังจากที่ตกอยู่ในภาวะกระท่อนกระแท่นมานานเต็มทีโลกรู้จักกล้องโพลารอยด์ ซึ่งเรียกตามชื่อของบริษัทผู้ผลิตออกมา โดยรุ่นแรกๆ ที่เรารู้จักกันดีในรูปแบบกล้องเลนส์ยืดเหมือนเครื่องแอคคอร์เดียน ก่อนที่จะมีโพลารอยด์แบบภาพสีออกมาครั้งแรกในปี 1972โลกจะต้องคิดถึงภาพขนาดเท่าฝ่ามือแบบที่มีเอกลักษณ์เป็นกรอบสีขาวไม่น้อยทีเดียว หลังจากข่าวการเลิกผลิตกล้องดังกล่าว ซึ่งอาจจะเลิกผลิตฟิล์ม รวมทั้งกระดาษอัดโพลารอยด์ด้วย บรรดาคนที่เห็นเสน่ห์ ซึ่งแตกต่างของรูปภาพแบบ "ชั่วคราว" "ไม่เพอร์เฟกต์" แต่มี "เอกลักษณ์" ก็เริ่มรวมตัวกันที่ SavePolaroid.com โดยแสดงเจตจำนงว่า ยังไงๆ กล้องดิจิตอลก็ไม่อาจมาแทนที่เสน่ห์แห่งโพลารอยด์ได้กลุ่ม SavePolaroid.com นอกจากจะโพสต์ภาพที่ถ่ายโดยโพลารอยด์ของพวกเขาใน SavePolaroid.com แล้ว ยังโพสต์เอาไว้ตามคลังเก็บรูปภาพออนไลน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Flickr.com หรือ Photobucket.com ฯลฯแม้ว่าจะมีการเอ่ยปากบ่น ก่นด่า ประณามคุณภาพของโพลารอยด์กันมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องถ่ายได้รูปเดียว ไม่สามารถอัดเก็บเอาไว้ได้ หรือว่า - พอเก็บเอาไว้นานๆ ก็จะเกิดอาการเหลือง ซีด และจางหายไปในที่สุด - ทั้งหมดนั่นก็จริงน่ะแหละต่างๆ เหล่านี้ทำให้นึกถึงสมัยที่แผ่นซีดี หรือคอมแพกต์ดิสก์ เข้ามาสังหารแผ่นเสียงแบบลองเพลย์หรือแอลพีเสียตายหมู่ ซึ่งแม้กระทั่งบรรดาดีเจทั้งหลายก็ยังออกมาบ่นเองเลยว่าซีดีทำให้ชีวิตง่ายขึ้นกว่าเก่าเยอะ ขณะเดียวกันคนที่หลงเสน่ห์ของเสียงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของแผ่นเสียง ก็ออกมารวมตัวกันประมาณนี้อย่างไรก็ตาม มีเกิดก็มีดับนั้นเป็นเรื่องธรรมดา สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมาได้ก็เกิดจากการเรียนรู้ข้อบกพร่องของสิ่งที่มีมาก่อน แล้วพัฒนาให้ดีขึ้น เหมาะกับชีวิตประจำวันยิ่งขึ้น เปรียบได้กับถ้าเราไม่มีคีตกวีเอก อย่าง บีโทเฟน ก็ไม่อาจจะมี อีกอร์ สตราวินสกี ได้ ฉันใดก็ฉันนั้นเนื่องเพราะโพลารอยด์ยังมีบางส่วนที่สวยงามอยู่มากในสายตาของใครหลายๆ คน ถึงขนาดเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ว่าทำไมกล้องโพลารอยด์จึงสามารถผลิตออกมาได้ในเวลาไม่กี่นาที แถมยังให้รูปภาพออกมาหน้าตาน่ารักน่าชังจริงๆโพลารอยด์ยังเป็นพยานแห่งความผิดพลาดของมนุษย์ ซึ่งกล้องดิจิตอลสามารถจะลบล้างความผิดนั้นลงไปได้อย่างง่ายดาย - ถ่ายไม่สวยลบทิ้ง ถ่ายใหม่ - แต่ข้อเสียก็คือยากจะหางานศิลปะระดับมาสเตอร์พีซจากการถ่ายรูปด้วยกล้องดิจิตอลได้เหมือนกล้องฟิล์มสไลด์ขนาดใหญ่ จะเปรียบไป กล้องดิจิตอลก็เหมือนกับสาวเจ้าที่ผ่านการทำศัลยกรรมมาแล้ว ขณะที่กล้องฟิล์ม รวมทั้งโพลารอยด์ก็ประหนึ่งสาวที่นิยมความงามโดยธรรมชาติช่างภาพดังๆ หลายคนไม่อาจจะ "แจ้งเกิด" ได้ หากไม่มีกล้องโพลารอยด์ ที่ช่วยในการทดสอบเรื่ององค์ประกอบ การจัดแสง ฯลฯ ก่อนที่จะกดชัตเตอร์ให้แสงตกกระทบลงไปบนฟิล์มสไลด์จริงๆขณะที่มีศิลปินหลายๆ คน นิยมโพลารอยด์ โดยเฉพาะศิลปินป๊อปอาร์ต อย่าง แอนดี วอร์ฮอล เขามักพกกล้องโพลารอยด์ไปทุกที่ ถ่ายนั่น ถ่ายนี่ เพื่อเป็นตัวอ้างอิงในงานศิลปะยุคดิสโก้ ด้าน วีโต อักกอนชี ศิลปินคอนเซปชวลเองก็มีพฤติกรรมนี้ เช่นเดียวกับ เดวิด ฮอกนีย์ ที่ผลงานศิลปะคอลลาจของเขาได้แรงบันดาลใจจากภาพถ่ายโพลารอยด์ แล้วก็ยังมีศิลปินดังๆ อีกหลายคนที่ทำงานด้วย "ความช่วยเหลือ" จากกล้องและภาพโพลารอยด์
    ใครที่ยังเป็นแฟนานุแฟนของโพลารอยด์ ไปร่วมโพสต์ภาพและเรื่องราวความประทับใจเกี่ยวกับกล้อง
    ถ่ายภาพสุดคลาสสิก "ไม่เพอร์เฟกต์แต่มีมนตร์ขลัง" ได้ที่ SavePolaroid.co
    ที่มา http://www.posttoday.com/



    ---------------------------------------------------
    http://variety.thaiza.com/

    Polariod Film

    • ฟิล์มสำหรับโพลารอยด์มีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับขนาดภาพที่ต้องการความไวในการขึ้นภาพและค่าISOที่ต้องการ
    http://board.lomothai.com/show.php?No=26241


    -600 Film (3.5 x 4.2 in. (8.8 x 10.7 cm))
    -Spectra/990/1200 Film (4 x 4.1 in. (10.2 x 10.5 cm))
    -Sheet Film (4 X 5)
    -Sheet Film (8 X 10)
    -Pack Film (3.25 X 4.25)
    -Pack Film (3.25 X 3.38)
    แต่ดั่งเดิม นั้น โพลารอยด์ ได้ผลิตฟิล์ม Instant Format: 3.5 x 4.2 in. ขึ้นมาครั้งแรก นั้น
    http://board.lomothai.com/show.php?No=26241



    http://hellopola.multiply.com
    คือฟิล์มTime Zero หรือ SX-70ค่า Film Speed 160 ASA (ISO ตามมาตราฐานสากล)
    ใช้เวลาในการ สร้างภาพ (Development Time) 5 นาที ในอุณหภูมิปกติ เนื่องจากการใช้เวลาสร้างภาพนาน จึงทำให้สามารถแต่งภาพให้เป็นเหมือนรูปวาด สีน้ำมันได้ หรือที่เรียกกันว่า Manipulation (ซึ่งจะกล่าวถึงในโอกาสต่อไป)ในกล่องจะประกอบไปด้วย ฟิล์ม 10 ใบ (ปัจจุบันเลิกผลิตไปแล้ว แต่ยังพอหาได้ใน ebay ราคาประมาณกล่องละ 1000 บาทได้)แล้วต่อมาได้พัฒนาฟิล์ม Instant Format: 3.5 x 4.2 in. ขึ้นมาอีกรุ่นหนึ่ง คือ 600 Film ซึ่งความแตกต่างระหว่างฟิล์ม นั้นก็คือ ค่า ISO และระยะเวลาในการ Development เจ้า 600 film นี้มีค่า ISO 640 และระยะเวลา Development 3 นาที ในอุณหภูมิปกติ (มีขายในประเทศไทย เฉลี่ยราคา 470-500 บาท แล้วแต่แหล่งที่ซื้อ)หลังจากที่ผลิต ฟิล์ม 600 ขึ้นมาได้ในระยะหนึ่ง ปัจจุบัน Polaroid ได้พัฒนาฟิล์ม Instant Format: 3.5 x 4.2 in. ขึ้นมาอีกรุ่นหนึ่ง คือ 779 filmงมีคุณสมบัติเหมือนกับ 600 film แทบทุกประการ แต่จะให้ความสดของสีเพิ่มมากขึ้น และ ใช้กลับกล้องตระกูล Polaroid 600 BE ได้ทุกรุ่นเหมือนกับ 600 filmจากการทดลองใช้งานกับฟิล์ม Instant Format: 3.5 x 4.2 inทั้ง 3 รุ่นนั้น นั้น film time zero นั้น สามารถทำ Manipulation สีของภาพ อมฟ้า-เขียวฟิล์ม 600 นั้น อมเขียวอ่อนๆ (ทำ Manipulation ได้เหมือนกันแต่ต้องอาศัยความไว สักหน่อย และอาจจะต้องใช้ไดร์เป่าผม เข้าช่วย แต่ ทำได้ไม่สวยเท่ากับใช้ฟิล์ม time zero) ส่วน 779 เท่าที่ลองใช้ สีอมเหลือง อันนี้จากที่ผมสังเกตุเองนะครับ
































    ----------------------------------------------------------------

    http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=75a8e6f982a35bd2&pli=1
    • รุ่นโพลารอยด์
                  


    -Polariod SX-70
    http://yune.wordpress.com/2007/07/04/finally-sx-70/
    SX-70 เป็นกล้องโพลารอยด์รุ่นแรกๆที่ผลิตขึ้นมาและยังได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน เป็นกล้องยอดนิยมและเป้นกล้องตัวโปรดของใครหลายๆคน ด้วยรูปลักษณ์ที่สวยและสามารถพับเก็บได้
    สามารถปรับโฟกัสได้ด้วยตัวเอง แต่ปัจจุบันจะหาฟิล์มที่ใส่กลับSX-70ได้ยากและราคาค่อนข้างแพง แต่ภาพที่ได้สวยและไม่เหมือนใคร ทำให้กล้องตัวนี้ยังคงไม่หายไป
    SX - 70 รวมหลายองค์ประกอบของการออกแบบที่มีความซับซ้อน A collapsible SLR required a complex light path for the viewfinder, with three mirrors (including one Fresnel reflector ) of unusual, aspheric shapes set at odd angles to create an erect image on the film and an erect aerial image for the viewfinder [ 3 ] . SLR จำเป็นต้องยุบเส้นทางของแสงที่มีความซับซ้อนสำหรับช่องมองภาพมีสามกระจก (รวมถึงหนึ่ง สะท้อน Fresnel ) ของรูปร่างผิดปกติย่อมตั้งในมุมที่แปลกไปสร้างภาพบนฟิล์มยกและยก ภาพทางอากาศ สำหรับช่องมองภาพ [3] . Many mechanical parts were precision plastic moldings. ชิ้นส่วนเครื่องจักรกลหลายคน moldings พลาสติกความเที่ยงตรง The body was glass-filled polysulfone , a very rigid plastic which could be plated with genuine copper-nickel-chromium. ร่างกายถูกกระจกที่เต็มไปด้วย polysulfone เป็นพลาสติกแข็งมากซึ่งอาจจะเป็นของแท้ชุบด้วยทองแดงนิกเกิลโครเมียม Models 2 & 3 used the less expensive and more-easily cracked ABS in either Ebony or Ivory color. รุ่นที่ 2 และ 3 ใช้น้อยราคาแพงและอื่น ๆ ได้อย่างง่ายดายแตก ABS ใน Ebony หรือสีงาช้าง The film pack contained a flat, 6-volt "PolaPulse" battery to power the camera electronics, drive motor and flash. แพ็คฟิล์มที่มีแบน, 6 - โวลต์แบตเตอรี่"PolaPulse"การไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์กล้อง, มอเตอร์และแฟลช The original flash system, a disposable " Flash Bar " of 10 bulbs from General Electric, used logic circuits to detect and fire the next unused flash. ระบบแฟลชเดิมทิ้ง" บาร์แฟลช "จาก 10 หลอด General Electric, ใช้วงจรตรรกะในการตรวจสอบและไฟแฟลชที่ไม่ได้ใช้ต่อไป







    กล้องโพลารอยด์รุ่นใหม่ที่ได้รับความนิยม
    -Polariod instax mini25 และ mini7s





    Polariod instaxได้รับความนิบมเพราะหาซื้อได้ง่ายและฟิล์มของกล้องก็หาซื้อได้ง่ายด้วย Polariod instax ใส่ฟิล์ม instax ที่มีลายการ์ตูรที่ขอบได้จึงได้รับความนิยมจากวัยรุ่น





    http://kawaiigift.weloveshopping.com/template/a29/showproduct1.php?pid=16973075&shopid=148329


    http://www.weloveshopping.com/template/a01/showproduct1.php?pid=10785576&shopid=20249


    -----------------------------------------------------------
    http://translate.google.co.th/translate?hl=th&langpair=en%7Cth&u=http://en.wikipedia.org/wiki/Polaroid_SX-70

    http://yune.wordpress.com/2007/07/04/finally-sx-70/







    วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

    กล้องโพลารอยด์ (Polaroid Camera)

    http://www.iambo.com/blog/archives/2008/08/polaroid-of-the-week-08-18-08.html
    • เป็นกล้องถ่ายรูปที่เมื่อถ่ายเสร็จจะได้ภาพทันที  เพราะมีกระบวนการล้างอัดอยู่ในตัวฟิล์ม  ภายในเวลาเพียง2-3 นาทีเท่านั้น  ภาพที่จะเป็นภาพโฟสิทีฟ(Positive)กล้องชนิดนี้เหมาะในการใช้งานที่ต้องการความรวดเร็ว  ข้อเสียก็คือฟิล์มที่ใช้กับกล้องชนิดนี้มีราคาค่อนข้างสูง  และภาพที่ได้ไม่มีความคงทนเก็บไว้ได้ไม่นานหากดูแลรักษาไม่ดี.




    http://www.travel-is.com/forum/view.php?qID=568
    เกิดขึ้นตั้งแต่ปีค.ศ.1947
    เมื่อ ดร.เอดวิน แลนด์
    (Dr. Edwin Land) ชาวอเมริกันได้พัฒนาและปรับปรุงการก๊อบปี้เอกสารมาใช้ในการถ่ายภาพเป็นครั้งแรกด้วยการใช้ฟิล์มม้วนที่แนบกับกระดาษชุบน้ำยาเคมีสร้างภาพ กล้องจะขับฟิล์มที่ถ่ายภาพแล้วออกมาในเวลา1นาทีแล้วผู้ใช้จะรอให้ภาพปรากฏในเวลาประมาณ1นาที จึงลอกกระดาษชั้นที่เป็นเนกาทีฟออกมาแผ่นที่เหลือเป็นภาพโพสิทีฟที่ต้องการซึ่งภาพในระยะแรกๆจะมีสีน้ำตาลหรือขาว-ดำแต่ภายหลังในปี ค.ศ.1951ก็สามารถผลิตเป็นภาพสีซึ่งมีสีอื่นๆอยู่ด้วยทว่าสีสันยังไม่ตรงกับสีตามธรรมชาตินัก(เพี้ยนไปทางสีน้ำตาล)ในปีค.ศ.1963   
    บริษัท"โพลารอยด์”เมืองเคมบริดจ์รัฐแมสาชูเซตส์แห่งสหรัฐอเมริกา ก็เริ่มผลิตฟิล์มสีสำเร็จรูปออกจำหน่ายเป็นครั้งแรกแต่ก็ยังเป็นแบบลอกภาพในแบบเดิมเพิ่งจะปรับปรุงโดยใช้เป็นกระดาษแผ่นเดียว และทำให้เกิดภาพที่มีสีสันตามธรรมชาติในปี
    ค.ศ.1972และต่อมาบริษัทโกดักก็ได้ผลิตฟิล์มชนิดนี้ออกมาในปีค.ศ.1976และผลิตกล้องถ่ายภาพที่ใช้กับฟิล์มสำเร็จรูปออกมาอีกหลายรุ่นภายหลังจากที่โพลารอยด์ได้ผลิตกล้อง“โพลารอยด์"  รุ่น95ออกมาเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1948จนเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในหมู่คนไทยในนามของกล้องและฟิล์ม“โพลารอยด์”หลังจากที่มีการผลิตฟิล์มโพลารอยด์ออกจำหน่ายไม่นานก็มีผู้คิดแม็กกาซีนเพื่อใช้กับกล้องถ่ายภาพชนิดเลนส์เดี่ยวกันมากขึ้นโดยทำให้ฝาหลังกล้องสามารถถอดเปลี่ยนใช้กับแม็กกาซีนดังกล่าวได้ แต่โดยมากมักใช้กันในหมู่ช่างภาพมืออาชีพเพื่อตรวจสอบการจัดภาพ การให้แสงก่อนการถ่ายด้วยฟิล์มที่ใช้งานจริงซึ่งนับว่าให้ประโยชน์คุ้มค่ามากเนื่องจากสามารถเห็นภาพได้หลังจากถ่ายเสร็จเพียงไม่กี่วินาทีแทนที่จะต้องรอผลจากฟิล์มแบบอื่นๆที่ต้องใช้เวลามากกว่าปัจจุบันยังมีโพลารอยด์เป็นฟิล์มสไลด์ด้วย
    ดังนั้นในอนาคตถ้าหากมีการปรับปรุงคุณภาพต่างๆ เช่น ความคงทน ความคมชัด เกรน ฯลฯ ให้ดีทัดเทียมกับฟิล์มชนิดอื่นๆ แล้วกระบวนการล้าง อัด ขยาย ก็จะกลายเป็นวิธีการที่ล้าสมัยไป
    http://www.youtube.com/watch?v=jOT7SwSgq2U


    --------------------------------------------------------------------------------